วันพุธที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2553

เปิดตำนานสักยันต์


การสักยันต์ลงบนผิวหนังเป็นความเชื่อที่มีมาแต่โบราณ เพราะสมัยก่อนนั้น นักรบผู้กล้านิยมสักยันต์ตามตัวเพื่อเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจยามออกศึก เพราะมีความเชื่อกันว่า จะฟันแทงไม่เข้า อยู่ยงคงกระพัน จนมาถึงยุคปัจุบันกลายเป็นวัฒนธรรมอย่างหนึ่งของไทยไปแล้ว ทุกวันนี้ลายสักหรือสักยันต์ตามความเชื่ออย่างโบราณนั้นได้ แปลเปลี่ยนไปจากโบราณไปอย่างมาก ทั้งวิธีการสักและลวดลายภาพที่มีความวิจิตรบรรจงมากขึ้น เรื่องราวของลายสักของคนไทยเป็นสิ่งที่น่าศึกษาค้นคว้าเรื่องหนึ่ง แต่ดูเหมือนจะไม่มีใครสนใจใคร่ศึกษามากนัก ทั้งๆ ที่เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมพื้นบ้านอย่างหนึ่งและนับวันจะสูญหาย ไป และ ณ บัดนี้ ความรู้จะถูกตีแผ่เพื่อสังคมได้รับรู้รับทราบเพื่อเป็นข้อมูลแด่คนรุ่นหลังๆ สืบต่อไป

"สัก" คืออะไร พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยถาน พ.ศ. ๒๕๒๕ เขียนว่า "สัก คือ การเอาเหล็กแหลมแทงลงด้วยวิธี การหรือเพื่อประโยชน์ต่าง ๆ กัน, ใช้เหล็กแหลมจุ้มหมึกหรือน้ำมันแทงที่ผิวหนังให้เป็นอักขระ เครื่องหมายหรือลวดลาย, ถ้าใช้หมึกเรียกว่า สักหมึก, ถ้าใช้น้ำมันเรียกว่า สักน้ำมัน (โบ)” ทำเครื่องหมายสักเพื่อแสดงเป็นหลักฐาน เช่น "สักข้อมือ แสดงว่าได้ขึ้นทะเบียนเป็นชายฉกรรจ์หรือ มีสังกัดกรมกองแล้ว สักหน้า แสดงว่าเป็นผู้ต้องโทษปราชิก เป็นต้น" จากคำอธิบายดังกล่าวทำให้รู้ว่า การสักลายหรือลายสักของไทยคืออะไร ประเพณีการสักนั้นมีไม่แพร่หลาย บางหมู่บ้านจะพบว่า ผู้ชายไม่ว่าหนุ่มหรือแก่มักมีลายสักที่หน้าอก และแผ่นหลังตามสมัยนิยม ในขณะที่ผู้ชำนาญในการสักของท้องถิ่นแสดงความสามารถที่สืบทอดมาอย่างเต็มที่ ผู้ที่ทำหน้าที่สักมีทั้งพระสงฆ์และคนธรรมดา

การศึกษาค้นคว้าศิลปะชาวบ้านประเภทนี้ ควรจะได้รับการศึกษาบันทึกเกี่ยวกับการออกแบบกรรมวิธีและพิธีกรรม ศึกษาเปรียบเทียบแต่ละกลุ่มชน ศึกษาค่านิยม และความเปลี่ยนแปลง ศึกษาการสักที่สืบทอดมาแต่โบราณ การสักมีรูปแบบที่แตกต่างกันอยู่ 2 รูปแบบ คือ ลายสักที่สืบทอดกันมาแแต่โบราณ และ ลายสักที่เกี่ยวเนื่องกับความเชื่อ แต่ละรูปแบบจะมีวิวัฒนา การตามแบบฉบับของมัน และแสดงให้เห็นรูปแบบของธรรมเนียมในประวัติศาสตร์ของประเทศไทยในแต่ละแง่แต่ ละมุมของลายสักที่สืบทอดกันมาในสังคมไทยในอดีต

การสักที่สืบทอดกันมาแต่โบราณ นักประวัติศาสตร์ซึ่งคุ้นเคยกับชีวิตแบบไทย ๆ คงจะทราบความจริงว่าข้าราชการของไทยจะทำตำหนิที่ข้อมือคนในบังคับซึ่งเป็น หน้าที่ของแผนกทะเบียนเป็นผู้บันทึกและรวบรวมสถิติชาย และอาจะเดาได้ว่าการสักเป็นจุดเริ่มต้นของการแบ่งส่วนราชการของไทย หรือการสักเป็นไปตามการแบ่งส่วนราชการ การทำเครื่องหมายลงบนร่างกายนี้อาจมีมาตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนต้น ในรัชสมัยของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ( พ.ศ. ๑๙๙๑ - ๒๐๓๑ )

การสักที่เกี่ยวเนื่องกับความเชื่อ วัตถุประสงค์ของการสัก ผู้ชายบางคนจะสักยันต์ด้วยเหตุผลทางเวทมนต์คาถาเพื่อความแข็ง แกร่งของจิตใจและต้องการอยู่ยงคงกระพัน ซึ่งเป็นความเชื่ออย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นเป็นประเพณีนิยมในชนบางกลุ่ม การสักลักษณะนี้จะสักให้เฉพาะชายฉกรรจ์เท่านั้น การสักมีลักษณะที่สอดแทรกไว้ด้วยความเชื่อและพิธีกรรมหลายอย่าง เช่น ก่อนทำการสักจะต้องมีการทำพิธีไหว้ครู ในการสักนั้นก็จะประกอบด้วยการร่ายเวทมนต์โดยอาจารย์สักจะถูผิวหนังของผู้มา สักทั้งก่อน ขณะสักลายหรือสักยันต์ และหลังจากสักเสร็จแล้ว อาจารย์สักแต่ละคนจะมีรูปแบบของลวดลายเป็นของตนเอง และผู้ที่ต้องการจะสักสามารถเลือกลายที่อาจารย์มีอยู่ได้ตามต้องการ ส่วนมากจะเป็นสัตว์ในเทพนิยาย และ เป็นอักขระขอมและเลขยันต์ อาจจะสักลายทั้งสามประเภทผสมกัน ดังนั้นลายสักของแต่ละคนจะไม่เหมือนกัน

การสักในประเทศไทยอาจจะมีมาแต่โบราณ แต่จะมีมาตั้งแต่สมัยใดนั้นไม่มีหลักฐานชัดเจน การสักยันต์เพื่อให้อยู่ยงคงกระพันนั้นเชื่อว่ามีมานานแล้วดังปรากฎใน วรรณคดี เรื่องขุนช้างขุนแผน และวรรณกรรมอื่นๆ แต่การสักมักมองว่าเป็นเรื่องของนักเลง จึงถูกมองไปในทางลบ ทำให้ศิลปะบนผิวหนังประเภทนี้เกือบจะสูญหายไปจากสังคมไทย

เหตุผลที่การสักยังคงมีอยู่คือ หลาย ๆ คนยังเชื่อว่า การสักจะทำให้มีโชค แคล้วคลาด ปลอดภัย และอยู่ยงคงกระพัน พ้นจากอันตรายต่างๆ รูปแบบของการสักแต่ละชนิดจะมีความขลังที่แตกต่างกัน ลายสักหรือยันต์บางชนิดสามารถช่วยผู้ที่สักให้รอดพ้นจากสถานการณ์ที่ยุ่งยาก ได้ สัญลัษณ์บางอย่างของลายสักสามารถทำให้ ผิวหนังเหนียวได้ ฟันไม่เข้า ศัตรูยิงไม่ออก เชื่อว่าการสักจะช่วยให้รอดพ้นจากสถานการณ์อันเลวร้ายได้ด้วย

นอกจากนี้ การสักทางไสยศาสตร์ยังเชื่อมโยงกับการระวังอันตรายและความปลอดภัย ทำให้แคล้วคลาดต่ออันตรายต่างๆ ศิลปะพื้นบ้านประเภทนี้ อาจจะกระตุ้นความรู้สึกให้เกิดศรัทธาความเชื่อมั่น เกิดความมั่นใจ มันอาจเป็นเครื่องแสดงความจริงต่างๆ วัฒนธรรมสมัยใหม่นั้นเมื่อมองแล้วอาจจะไม่ทำให้ปลอดภัย ส่วนวัฒนธรรมการสักยันต์จึงช่วยให้เกิดความรู้สึกปลอดภัย เป็นทางหนึ่งที่ช่วยให้จิตใจเขามีความมั่นใจมั่นคงมากยิ่งๆ ขึ้น

การสักยันต์ที่มีลวดลายเป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลายในบรรดาผู้ที่นิยมการสัก คือ ลวดลายสักที่ให้ผลทางไสยศาสตร์ ซึ่งแบ่งเป็น 2 ชนิด คือ เพื่อผลทางเมตตามหานิยม และเพื่อผลทางคงกระพันชาตรี
เมตตามหานิยม เป็นการสักเพื่อผลทางเมตตามหานิยมมักจะสักเป็นรูปจิ้งจก หรือนกสาริกาเพื่อเป็นตัวแทนของความมีเสน่ห์เป็นที่รักใคร่ของคนทั่วไป โดยเฉพาะให้ผลดีทางการเจรจา ค้าขายทำให้เจริญรุ่งเรืองทำมาค้าขึ้น หรือเป็นลักษณะตัวอักขระยันต์ เช่น ยันต์ดอกบัว ยันต์ก้นถุง ยันต์โภคทรัพย์ ซึ่งมีผลทางด้านการเงิน เป็นต้น
คงกระพันชาตรี เป็นการสักเพื่อให้แคล้วคลาดจากของมีคม อุบัติเหตุ หรืออันตรายทั้งปวง ลักษณะของลายสักเพื่อผลทางอยู่ยงคงกระพันชาตรีจะนิยมสักลวดลายซึ่งเป็นตัว แทนความดุร้าย ความปราดเปรียว ความสง่างาม ความกล้าหาย ได้แก่ ลายเสือเผ่น หนุมานคลุกผุ่น หงส์ และลายสิงห์ เป็นต้น หรือเป็นลายที่เปรียบเสมือนเกราะป้องกันภยันตราย เช่น เก้ายอด ยันต์เกราะเพชร หรือลายยันต์ชนิดต่างๆ เป็นต้น

และสิ่งที่สำคัญที่สุดที่เป็นแก่นแท้ของการสักเพื่อผลทางไสยศาสตร์ และถือกันว่าเป็น “หัวใจของการสักก็คือ หัวใจของคาถาที่กำกับลวดลายสักแต่ละลายอยู่ เพราะสิ่งนี้คือเคล็ดลับวิชาคาถาอาคมที่เป็นวิชาชั้นสูงของแต่ละอาจารย์ที่ จะไม่เปิดเผยให้แก่ผู้ใดเป็นอันขาด” นอกจากลูกศิษย์ที่ได้รับความไว้วางใจให้เป็นผู้รับถ่ายทอดวิชาการสักยันต์ ของอาจารย์สืบต่อไป

ลายสักดังกล่าวจะต้องถูกสักอยู่ในตำแหน่งที่ถูกที่ควร ไม่เช่นนั้นความขลังจะไม่เกิด โดยมากผู้มาสักประสงค์จะให้ลายสักอยู่ภายในร่มผ้ามากที่สุด ตำแหน่งที่นิยมสักเรียงตามลำดับดังนี้คือ หลัง หน้าอก คอ ศีรษะ ไหล่ แขน ชายโครง หน้า มือ และหัวเข่าของบุคคลในแวดวงการสักลาย เนื่องจากวัตถุประสงค์ของการสักคือเพื่อผลทางไสยศาสตร์ จึงต้องสักโดยครูอาจารย์ที่มีวิชาอาคมศักดิ์สิทธิ์โดยเฉพาะเท่านั้น ฆราวาสหรือบุคคลธรรมดาที่ไม่มีวิชาความรู้ทางด้านนี้จะไม่ได้รับการยอมรับ ครู และอาจารย์ที่ได้รับการยอมรับนับถือจากบุคคลทั่วไป และความศักดิ์สิทธิ์ของการสักก็มักจะได้รับการทดสอบจนเห็นผลเป็นที่ร่ำลือมา แล้ว

จากอดีตที่การสักแทบจะสูญหายไปเนื่องจากกระแสวัตถุนิยมเข้ามาแทนที่ทำให้ ความต้องการทางด้านจิตใจของคนเปลี่ยนไปหันไปพึ่งวัตถุนิยมแต่สุดท้ายแล้ว เมื่อความรักชาติรักความเป็นไทยในสายเลือดก็ย่อมไม่เจือจางเมื่อมีบุคคล หลายๆคนได้พยายามปลุกกระแสการสักยันต์ขึ้นมาใหม่เพื่ออนุรักษ์วิถีของไทยแต่ ก่อนกาล และดูว่าจะได้รับความสนใจขึ้นเรื่อยๆ ทำให้เกิดการพัฒนารูปแบบการสักยันต์ขึ้นมาใหม่ที่มีลวดลายงดงาม ปราณีตยิ่งขึ้น และวิธีการสักที่มีเครื่องมือที่สะอาดทันสมัยปลอดจากโรค ทำให้วงการสักยันต์ได้กลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง สำหรับคนที่ยังทำการสักแบบเดิมๆที่ยังขาดความสวยงามและเครื่องมือที่ไม่ สะอาดเสี่ยงกับการติดเชื้อร้ายแรงประเภทต่างๆ ก็จะถูกสังคมต่อต้านจนเลิกไปเอง ทำให้เกิดยุคของการสักยันต์ในรูปแบบใหม่ที่ว่าด้วย " ลายสวยและเครื่องมือสะอาดปลอดโรค"
ส่วนวิธีสักด้วยน้ำมันแทนการสักด้วยน้ำหมึก เพื่อจะได้มองไม่เห็นลวดลาย สำหรับบุคคลที่ต้องการเน้นความขลัง ของมนตราของการสักมากกว่ารูปภาพ ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งไว้รองรับ สำหรับผู้นิยมแบบเสือซ่อนเล็บ หรือคมในฝัก ซึ่งก็ได้รับความนิยมไม่แพ้กัน
มุมมองของคนแต่ละกลุ่มแตกต่างกันไปตามความคิดและทัศนคติของผู้เขียนว่ายืน อยู่เคียงข้างกลุ่มใดแต่จนแล้วจนรอด ความจริงเท่านั้นที่จะเป็นเครื่องพิสูจน์ว่าทำไมวันนี้การสักยันต์ของไทยเรา ยังยืนอยู่ได้ทั้งๆที่แม้จะมีคนหลายๆกลุ่ม ใส่ร้ายใส่ความคนที่สักยันต์ต่างๆนานาว่าเป็นคนไม่ดี คนขี้คุก แต่คนเหล่านั้นไม่เคยนำบุคคลที่มีคุณงามความดีและมีรอยสักมาเผยแพร่เลย อย่างเช่นเสด็จเตี่ยของเราก็มีรอยสักเต็มตัวทั้งๆที่เป็นลูกกษัตริย์ ท่านก็ไม่เคยคิดในแง่ไม่ดีสำหรับการสักยันต์ หรือบุคคลทีมีชื่อเสียงในสังคมเรา อย่าง ดร.ไมตรี บุญสูง ท่านก็มีรอยสัก ท่านก็ยังกระทำความดีเป็นที่นับหน้าถือตาของคนในสังคม อาจเป็นเพราะว่าสื่อบางประเภทนิยมมุมมองเรื่องเลวร้ายมากกว่าเพราะเห็นว่า เป็นข่าวขายดี เข้าตำราว่าข่าวเรื่องดีขายไม่ออก เพราะฉนั้นถ้าเราทุกคนเปลี่ยนมุมมองเสียใหม่คุณก็จะเห็นอะไรใหม่ๆ ลองมองกลับไปดูปู่ ย่า ตา ยาย คุณดูสิ เชื่อได้ว่าหลายๆคนก็มีรอยสักแต่ท่านเหล่านั้นก็ไม่ได้เป็นคนไม่ดี และอีกอย่างที่เป็นที่โต้เเย้งกันมากนักเรื่องการสักยันต์ในคุกในสถานกักกัน ได้ใจความจากท่านอาจารย์เสือให้ข้อคิดว่า "การสักยันต์เกิดจากผู้ที่ทำการสักต้องป็นผู้มีวิชามีครูบาอาจารย์จะเป็นพระ สงฆ์ก็ดีจะเป็นอาจารย์ฆราวาสก็ดี บุคคลเหล่านี้จะต้องเรียนรู้ในวิชาการสักของแต่ละสาย จึงสามารถนำมาทำการสักให้ศิษย์ได้ และคนในคุกในสถานกักกันเขาเป็นคนประภทไหน และจะเรียกสักยันต์ได้อย่างไร เขาเรียกว่าสักกันเล่นๆ อย่าเอามารวมกัน จึงข้อร้องให้ผู้ที่มีปากกาในมือทั้งหลายจะเขียนอย่างไรถ้าตนเองไม่เข้าใจ ให้ไปถามผู้รู้จะดีกว่า อย่าทำให้ข้อมูลที่ดีมันบิดเบือนจนสร้างความเข้าใจผิดให้คนในสังคมรู้สึกไม่ ดี และบุคคลเหล่านั้นที่เขียนเรื่องไม่จริงก็จะเป็นคนที่ทำลายชาติ ทำลายวัฒนธรรมตนเอง ของที่ครูบาอาจารย์สร้างมาตลอดชีวิตจะมาเสียเพราะคนรู้เท่าไม่ถึงกาลมาทำลาย เสียหมด ช่วยกันดีกว่าไหม ก่อนการสักของประเทศอื่นๆจะมากลืนกินการสักยันต์ไทยเราจนหมดสิ้นเพราะคนไทย ทำลายมันเอง"

การสักยันต์แบบเข็มโบราณ

เป็นการสักยันต์ แบบโบราณ แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
1. การสักด้วยน้ำมัน โดยส่วนใหญ่จะเป็นน้ำมันว่าน 108 ซึ่งมีผลทางด้านเมตตา มหาเสน่ห์ ซึ่งเป็นที่นิยมกันมากในปัจจุบัน เพราะไม่เห็นรอยสักเหมือนการสักแบบหมึก เพียงแค่ 2-3 วัน รอยก็จะจางหายไป ลวดลายที่นิยมก็จะเกี่ยวข้องกับ เมตตา ค้าขาย การเจรจาประกอบธุรกิจ ศิลปิน นักแสดง เช่น ยันต์สาลิกา ยันต์จิ้งจก ยันต์เมตตา ยันต์ลือชา ยันต์ถุงเงินถุงทอง และอื่นๆ อีกนับร้อย
2. การสักด้วยหมึกจีน โดยการใช้เข็มเหล็กแหลมจุมหมึกสีดำผสมว่าน108 นำมาทิ่มลงบนบริเวณเนื้อที่ต้องการสักยันต์ลงไป โดยอาจารย์เสือจะเป็นผู้ร่างแบบใหม่ทุกลาย ทุกคนจะได้ลายสักที่ไม่ซ้ำกันเพราะเป็นการเขียนขึ้นสดๆจากจินตนาการของตัว อาจารย์เอง ไม่ได้ใช้แม่พิมพ์ใดๆทั้งสิ้น..ศิษย์ทุกคนที่ได้ลายสักไปจะเกิดความภาคภูมิ ใจในความเป็นหนึ่งเดียวของตน


การสักยันต์โดยใช้เครื่อง


เป็นการประยุกต์การสักยันต์แบบยุคโบราณเข้ากับเทคโนโลยีสมัยใหม่ซึ่งไม่ผิด กฏเกณฑ์ใดๆ เพราะสมัยโบราณไม่ได้มีข้อกำหนดในการขึ้นรูปรอยสักว่าจะต้องเป็นการสักที่ ใช้เข็มทิ่มลงไปบนเนื้อเท่านั้น เพียงแต่ให้มีรูปในลักษณะที่ถูกต้องตามหลักศาสตร์ของการเขียนเลขและอักขระ ของยันต์ก็เพียงพอแล้ว แต่หลักที่สำคัญที่จะทำให้เกิดพระพุทธคุณเทียบเท่าอย่างโบราณได้กำหนดไว้คือ อาจารย์ผู้ปลุกเลขยันต์ต้องมีวิชาและสมาธิที่ถึงขั้นในการเรียกรูปเรียกนาม ให้เกิดอิทธิฤทธิ์ปฎิหารย์ขึ้นมาได้เป็นอันสมบูรณ์ ในการสักยันต์แบบเครื่องไฟฟ้าจึงเป็นที่นิยมในปัจจุบันเพราะมีความสวยงามและ มีสีสันดูมีชีวิตชีวามากกว่าการสักแบบเข็ม และมีที่นี้ที่เดียวที่สามารถผสมผสานทั้งสองอย่างได้อย่างลงตัว
วิธีสักแบบ Tattoo นั้นนักสักจะใช้เครื่องสักไฟฟ้ามีกระปลุกบรรจุสีอยู่ด้านบนหัวเข็มการทำงาน ของเครื่องคล้ายจักรเย็บผ้า การสักด้วยวิธีนี้จะทำให้ได้ภาพสักที่สวยงามคมชัด นักสักสามารถเล่นสีได้ตามใจชอบภาพที่ออกมาเหมือนกับวาดภาพบนกระดาษ ผู้สักไม่เจ็บปวดเหมือนกับการสักยันต์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ผู้ติดตาม